วันอังคารที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2551

วันศุกร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2551

อ้างอิง

จัดทำโดย นางสาวปรียาภรณ์ คำนวน สาขาภาษาต่างประเทศธุรกิจ ห้อง ปวส. 1 เลขที่ 8

ตัวอย่าง เทคนิคการปลูกข้าว ภาคใต้

1. พันธุ์ข้าวและเมล็ดพันธุ์ ; พันธุ์ข้าวที่ใช้ตามความต้องการของผู้บริโภค คือ ช่อเบา เหลืองจำปา ไข่มดริ้น ช่วงหลังปี พ.ศ. 2547 มีพันธุ์ เล็บนกปัตตานี สังข์หยด และปทุมธานี 1 ระยะแรกใช้เมล็ดพันธุ์จากศูนย์ขยายพันธุ์พืช และ ศูนย์วิจัยข้าวในพื้นที่และการปลูกข้าวเพื่อทำเมล็ดพันธุ์เองบ้างในปัจจุบัน

2. การเตรียมดินและวิธีปลูก ; ใช้รถแทรกเตอร์ไถเตรียมดินช่วงเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม ในนาหว่านข้าวแห้งซึ่งปัจจุบันมีพื้นที่ปลูกประมาณ 30 % จะไถแปรโดยใช้รถไถเดินตาม หว่านเมล็ดพันธุ์ข้าวประมาณ 15 กก./ไร่ แล้วคราดกลบ ในเดือนสิงหาคม ส่วนนาดำที่ส่วนใหญ่จะอยู่บริเวณที่ดอน จะตกกล้าในเดือน กรกฎาคม แล้ว ไถแปร คราดน้ำขัง แล้วถอนกล้าข้าวมาปักดำในเดือน สิงหาคม

3. การจัดการความอุดมสมบูรณ์ของดิน ; ในเบื้องต้นมีการไถกลบตอซังข้าวในนา นำฟางข้าวมาทำเป็นปุ๋ยหมักผสมกับปุ๋ยคอกแล้วนำกลับไปใส่ในนา มีการเลี้ยงวัวแล้วนำมูลวัวมาซึ่งได้ผลดีในบางปีขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำฝนต้นฤดู การจัดการดินและใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ดังกล่าว อยู่ภายใต้แนวคิด “รักษาสถานะความอุดมสมบูรณ์ของดินให้ยั่งยืน”

4. การควบคุมน้ำและควบคุมวัชพืช ; การทำนาดำช่วยควบคุมวัชพืชได้เป็นอย่างดี แต่ในพื้นที่นาลุ่มที่วัชพืชไม่รุนแรง สามารถทำนาหว่านข้าวแห้งช่วยลดต้นทุนค่าแรงงานได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตามการดูแลคันนาเพื่อรักษาระดับน้ำขังในนาให้พอดีกับการเจริญเติบโตของข้าว ก็เป็นการควบคุมวัชพืชอย่างได้ผล รวมทั้งมีผลต่อความแข็งแรงของต้นข้าวด้วย

5. การป้องกันกำจัดศัตรูข้าว ; ศัตรูข้าวที่สำคัญในพื้นที่นี้ คือ ในระยะแรกของการเจริญเติบโตของข้าว ปู และหอยเชอรี่ ซึ่งเกษตรกรแก้ไขโดยการลดระดับน้ำในนา จับมาบริโภคหรือทำน้ำหมักชีวภาพ ในระยะข้าวแตกกอมีหนอนกอทำลายรุนแรงในบางปี ซึ่งยังไม่มีการป้องกันกำจัด อย่างไรก็ตาม จากการสังเกตพบว่า ต้นข้าวอินทรีย์ที่ไม่ได้รับปุ๋ยเคมี มีความแข็งแรงและทนทานต่อโรคไหม้ได้ดีกว่าข้าวที่ใส่ปุ๋ยเคมี ข้าวที่ปลูกแบบหว่านข้าวแห้งมีการทำลายของแมลงบั่วน้อยกว่าข้าวนาดำ

6. การจัดการก่อนและหลังเก็บเกี่ยว ; คุณภาพของข้าวได้รับผลกระทบจากขั้นตอนนี้มาก โดยเฉพาะจากการตกของฝนช่วงก่อน – หลังการเก็บเกี่ยว อย่างไรก็ตาม การจัดการแบบดั้งเดิมก็ใช้ได้ผลดี คือ ระบายน้ำออกนาให้แห้งพอดีในช่วงที่ข้าวสุกแก่ ใช้คนเก็บเกี่ยวแล้วตากสุ่มซัง 3-4 วัน หลังจากนั้นนำมารวมกองไว้รอคนนวดหรือใช้เครื่องนวด กองไว้ได้นานกว่า 30 วัน โดยข้าวยังคงมีคุณภาพดี การใช้เครื่องนวดข้าวจะต้องระวังกรณีที่เปลี่ยนจากพันธุ์ข้าว เพราะจะเกิดการปนของข้าวที่ติดอยู่ในเครื่องนวด จึงต้องเป่าหรือล้างทำความสะอาดเครื่องนวดก่อน ข้าวเปลือกที่ได้จะมีความชื้นเฉลี่ย 13-15 % ตามมาตรฐาน นำไปเก็บรักษาในยุ้งฉางหรือใส่กระสอบป่านที่ทำความสะอาดและคัดชิ้นส่วนข้าวที่ติดมากับกระสอบเดิมแล้ว

7. ระบบพืช/ระบบเกษตร ; ยังไม่มีการพัฒนาในด้านระบบพืช เนื่องจากเป็นพื้นที่นาน้ำฝน ทำให้การปลูกพืชฤดูแล้งทำได้ยาก จึงไม่มีเพียงพืชก่อนนา พื้นที่นาหลังการเก็บเกี่ยวข้าวส่วนใหญ่จะปล่อยสัตว์เลี้ยง คือ วัว เข้าไปกินหญ้าและฟางข้าวเป็นอาหาร

วันพฤหัสบดีที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2551

แนวความคิดเกี่ยวกับการควบคุมการผลิต

แนวคิดเกี่ยวกับการควบคุมการผลิตมี 4 อย่างคือ
Releasing
- ตรวตสอบจำนวนหรือปริมาณวัตถุดิบ ชิ้นส่วน และชิ้นส่วนย่อย ว่ามีอยู่เท่าไร
- ตรวจสอบกำลังของโรงงานที่มีอยู่ปัจจุบัน
- ตรวจสอบการผลิตของผู้ผลิตด้วย
Scheduling
ทั่วไปเป็นเป้าหมายในการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องในการจัดตารางการผลิตและการจัดลำดับการผลิต ได้แก่
- การตอบสนองที่รวดเร็วต่อความต้องการของลูกค้า
-การส่งมอบผลิตภัณต์ทันตามเวลาที่ลูกค้ากำหนด
-ประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากร ได้แก่ มนุษย์และเรคื่องจักร
Monitoring
- ติดตามความคืบหน้าของสินค้าที่สั่งผลิตว่าตอนนี้ผลิตได้เท่าไร
- ติดตามความคืบหน้าของสินค้าว่าได้รับหรือยัง
- ตดตามสินที่คงเหลืออยู่ในกระบวนการผลิต
Updating
- ต้องทำเป็นประจำเสมอทุกวันโดยการตรวจสอบในใบสั่งผลิตในแต่ละวันหรือจากการ์ดที่ออกจากฝ่ายผารผลิต
- หากจำนวนที่สั่งผลิตหรือสั่งซื้อไม่เป็นไปตามแผนให้รีบทำอย่างใดอย่างหนึ่งในการเพิ่มผลผลิต

ประโยชน์ของการควบคุมการผลิต

1. เพื่อให้ทางองค์กรเสียค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนต่ำที่สุด ทั้งนี้โดยการใช้ปัจจัยการผลิตและวิธีการผลิตที่เหมาะสม
2. เพื่อให้องค์กรได้ปริมาณสินค้าตรงตามความต้องการของตลาด ไม่มากเกินไปจนสินค้าเน่าเสีย และไม่น้อยเกินไปจนไม่สามารถสนองความต้องการของตลาดได้ เป็นต้น
3. เพื่อให้องค์กรได้สินค้าตรงตามเวลาที่ลูกค้าต้องการ
4. เพื่อให้ได้คุณภาพสินค้าตรงตามที่ลูกค้าต้องการ ไม่มีจุดบกพร่องหรือเน่าเสีย

ขั้นตอนในการควบคุมคุณภาพ

ขั้นตอนในการควบคุมคุณภาพ แบ่งเป็น 4 ขั้นตอน คือ
1. ขั้นการกำหนดนโยบาย ในขั้นนี้จะเป็นการกำหนดวัตถุประสงค์กว้าง ๆ เช่น ระดับ สินค้า ขนาดของตลาด วิธีการจำหน่าย ตลอดถึงการรับประกัน ข้อกำหนดเหล่านี้จะเป็นเครื่องชี้นำว่ากิจการจะต้องทำอะไรบ้าง เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ได้วางเอาไว้
2. ขั้นการออกแบบผลิตภัณฑ์ การออกแบบผลิตภัณฑ์ในที่นี้หมายถึง การกำหนดคุณลักษณะ ( Specification ) ของผลิตภัณฑ์ เช่น วิทยุที่จะทำการผลิตขึ้นนี้มีขนาดกี่วัตต์สามารถรับได้กี่ช่วงความถี่ใด และมีระบบตัดคลื่นรบกวนหรือไม่ เป็นต้น ข้อควรคำนึงถึงสำหรับการออกแบบผลิตภัณฑ์นี้ก็คือ จะต้องรู้ว่าฝ่ายผลิตมีขีดความสามารถมากน้อยเพียงใด เพราะการออกแบบผลิตภัณฑ์เกินความสามารถของฝ่ายผลิตนั้น ๆ เป็นไปไม่ได้
3. ขั้นตอนการควบคุมคุณภาพของการผลิต การควบคุมคุณภาพการผลิตแบ่งออกเป็นขั้นตอนย่อย 3 ขั้น คือ การตรวจสอบคุณภาพของชิ้นส่วน การควบคุมกระบวนการผลิตและการตรวจสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่ผลิตสำเร็จรูป โดยในการตรวจสอบทั้ง 3 ขั้นนี้ ส่วนใหญ่จะใช้เทคนิคการสุ่มตัวอย่าง เพราะของที่ผลิตได้นั้นมีจำนวนมากจนไม่อาจจะทำการตรวจสอบได้อย่างทั่วถึงภายในเวลาจำกัด เช่น การผลิตชิ้นส่วนทางอิเลคทรอนิกส์ ซึ่งผลิตคราวละหลายล้านตัว หรือการตรวจสอบนั้นต้องทำลายของตัวอย่าง เช่น การทดสอบความทนทานของกระเบื้องในอุตสาหกรรมเซรามิก
4. ขั้นการจำหน่าย การควบคุมคุณภาพในขั้นการจำหน่าย จะมีลักษณะเป็นการให้บริการหลังการขาย ซึ่งในระบบการตลาดสมัยใหม่ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะสินค้าบางชนิดโดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าประเภทเครื่องมือ เครื่องจักรหรืออุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีวิธีการใช้และการดูแลรักษาที่ค่อนข้างจะยุ่งยาก ผู้ผลิตหรือผู้ขายก็ยิ่งจะต้องคอยดูแลเพื่อให้บริการหลังการขายแก่ผู้ซื้ออยู่เสมอ เพื่อความก้าวหน้าทางธุรกิจในอนาคต

ขั้นตอนการดำเนินงาน

แผนดำเนินการผลิตขององค์การธุรกิจต่าง ๆ ที่ได้กำหนดไว้จะบรรลุผลตามที่ต้องการจะต้องมีการควบคุมอย่างเป็นระบบและมีเป้าหมาย ดังนั้นการควบคุมการผลิตจึงมีขั้นตอนในการดำเนินการ 5 ขั้นตอน คือ
1 ขั้นวางแผน เป็นขั้นตอนในการเตรียมงาน เพื่อให้ทราบว่าการปฏิบัติงานที่จะควบคุมการผลิต ต้องทำอย่างไร
2. ขั้นแบ่งงานการผลิต เป็นขั้นแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบด้านการผลิตให้แก่ฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งชี้แจงขอบเขตการทำงานให้ชัดเจน
3. ขั้นควบคุมเวลา เป็นการควบคุมงานย่อยในแต่ละฝ่ายให้เสร็จทันกำหนดเวลา
4. ขั้นควบคุมกระบวนการจัดการ เป็นขั้นติดตามดูแลความถูกต้องในการปฏิบัติงาน เพื่อเป็นการตรวจสอบว่าในแต่ละฝ่ายได้ดำเนินงานไปตามข้อตกลง หรือแผนงานที่ได้กำหนดไว้หรือไม่ หากไม่สามารถดำเนินการได้เป็นเพราะเหตุใด และจะแก้ไขอย่างไรอันจะเป็นการช่วยให้งานไม่เกิดการชะงักและส่งผลไปยังกระบวนการอื่น ๆ
5. ขั้นตรวจสอบและติดตามผล เป็นการติดตามสำรวจปัญหาและอุปสรรค ตลอดจนการตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์ก่อนการส่งจำหน่าย

ความสำคัญของการผลิต

การจัดการผลิตมีความสำคัญต่อองค์การธุรกิจและการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ คือ
1. เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตให้สูงขึ้น เพราะการจัดการผลิตสามารถควบคุมการใช้ปัจจัยในการผลิตให้เกิดผลคุ้มค่าได้มากที่สุด
2. เป็นการเพิ่มคุณภาพของการผลิต เพราะจะช่วยให้องค์การธุรกิจสามารถควบคุม มาตรฐานการผลิตได้ตรงตามที่กำหนด
3. เพิ่มความสะดวก รวดเร็วในการพัฒนาระบบการผลิต หากมีการกำหนดแนวทางหรือนโยบายการจัดการผลิตเป็นอย่างดีจะช่วยให้การต่อเติมหรือดัดแปลงระบบต่าง ๆ ทำได้ง่ายและ รวดเร็วขึ้น

การควบคุมคุณภาพ

การควบคุมคุณภาพ เป็นกิจกรรมที่สำคัญยิ่งในระบบการผลิตสมัยใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการผลิตคราวละมาก ๆ ( Mass Product ) ซึ่งมีโอกาสที่จะเกิดความผิดพลาดในกระบวนการผลิตได้ง่าย จึงจำเป็นจะต้องมีการตรวจสอบเพื่อให้แน่ใจได้ว่าคุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่ทำการผลิตขึ้นนั้นมีความสม่ำเสมอทัดเทียมกันทุกชิ้นก่อนที่จะส่งออกจำหน่าย หากผลิตภัณฑ์นั้นมีข้อบกพร่อง อาจทำให้ลูกค้าไม่เชื่อถืออีกต่อไป

ความหมายการผลิต

การผลิต ( Production ) หมายถึง การจัดทำ การประกอบ หรือการสร้างขึ้นมาซึ่งสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ โดยผ่านกระบวนการแปรสภาพจากวัตถุดิบ
การจัดการผลิต ( Management of Product ) หมายถึง ขั้นตอน กระบวนการต่าง ๆ ที่จะก่อให้เกิดระบบการผลิตเพื่อให้ได้ผลผลิตตรงตามเป้าหมาย เช่น การจัดสรรงบประมาณในการผลิต การทำงานล่วงเวลาของพนักงานเพื่อผลิตสินค้าให้ทันความต้องการ การตรวจสอบคุณภาพผลผลิตตามกำหนด เป็นต้น
การควบคุมการผลิต คือ การบังคับหรือกำกับดูแลให้การดำเนินการผลิตสู่เป้าหมาย ซึ่งการควบคุมย่อมเป็นหลักประกันว่าผลงานที่ได้ตรงกับเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่กำหนดการควบคุมการผลิตจะทำให้เราทราบว่างานที่ทำกำลังเดินไปสู่เป้าหมายหรือไม่ ถ้าไม่ตรงตามความต้องการก็สามารถปรับปรุงแก้ไขได้ทันการ การควบคุมจะทำให้ผลผลิตมีประสิทธิภาพสูงขึ้นจะต้องมีการวางแผนและตั้งมาตรฐานเอาไว้ล่วงหน้า และมีการเปรียบเทียบผลงานจริงกับมาตรฐานที่กำหนดไว้